บทความ

ข้อมูลและการใช้งานของรถเฮี๊ยบ

  • บทความ,  บทความเรื่องรถเฮี๊ยบ

    สำหรับผู้ขับขี่รถบรรทุก

    ก่อนขับรถบรรทุก ต้องรู้อะไรบ้าง?

    ก่อนขับรถบรรทุก ต้องรู้อะไรบ้าง? รถบรรทุก เป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญในวงการขนส่งทางบก และในระบบโลจิสติกส์ เป็นการขนส่งที่ผู้ประกอบการนิยมใช้มากที่สุด เป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว สามารถขนส่งได้ในปริมาณมาก และยังครอบคลุมพื้นที่ในการให้บริการ แต่ไม่ใช่ว่าใครๆ จะขับรถบรรทุกกันได้ง่ายๆ นอกจากจะต้องมีทักษะ ความสามารถในการขับขี่ การควบคุมรถแล้ว ยังมีข้อกำหนดกฎเกณฑ์ ข้อควรรู้ อีกมากมายที่ควรรู้ ซึ่งจะมีรายละเอียดมากกว่ารถยนต์ทั่วไป น้องยูคอน จึงมีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับรถบรรทุกมาฝาก เผื่อบางคนอยากเปลี่ยนจากมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ มาขับรถบรรทุกแทน ซึ่งในบางสายงานอาชีพ การขับรถบรรทุกนั้น สามารถสร้างรายได้ๆดีมากพอสมควรเลยนะ

    ขับรถบรรทุกไม่ใช่เรื่องง่าย ควรเรียนหัดขับเสียก่อน

    ถึงแม้ว่าจะขับรถยนต์เป็นอยู่แล้ว ก็ใช่ว่าจะขับรถบรรทุกได้ง่ายๆ เพราะด้วยช่วงความยาว น้ำหนัก ขนาดรถที่ต่างกับรถยนต์อย่างมาก ดังนั้นแนะนำว่าควรมีการเรียน ฝึกขับรถบรรทุกเสียก่อน เพื่อเพิ่มทักษะ ความรู้ ความสามารถก่อนออกถนนจริง ซึ่งปัจจุบันมีโรงเรียนสอนขับรถบรรทุกอยู่มากมาย ให้เราได้เรียนรู้ หากเปรียบกับมอเตอร์ไซค์ให้เห็นภาพง่ายๆ ก็เหมือนเราขับมอเตอร์ไซค์แค่ 120cc อยู่ทุกวัน คิดว่าขับเป็นแล้ว เก่งแล้ว จะขยับไปขับบิ๊กไบค์ 500-600cc คงไม่ยาก ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดอย่างมาก การขับบิ๊กไบค์ก็ต้องมีการเรียนหลักสูตรเช่นกัน

    ใบขับขี่แบบเก่าและแบบใหม่สำหรับผู้ที่ต้องการขับรถบรรทุก

    ต้องมีใบขับขี่

    แน่นอนว่าในการขับรถบนท้องถนน ไม่ว่ารถประเภทใด ตามกฎหมายแล้ว จะต้องมีใบอนุญาตในการขับขี่ สำหรับการขับรถบรรทุกนั้น ใบขับขี่จะถูกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

    • ใบอนุญาตขับรถทุกประเภท บ.2 คือ ใบอนุญาตขับรถประเภทส่วนบุคคล คือ การอนุญาตให้สามารถขับขี่เพื่อขนส่งส่วนบุคคลได้ เช่น รถบัส, รถบรรทุก 6-10 ล้อ (ป้ายทะเบียนพื้นสีขาว)
    • ใบอนุญาตขับรถทุกประเภท ท.2 คือ ใบอนุญาตประเภทขับขี่เพื่อขนส่งได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นใช้สำหรับขนส่งเพื่อการค้า ธุรกิจส่วนตัว ใช้ขนส่งเพื่อรับจ้าง การขนส่งคน สิ่งของ หรือประกอบธุรกิจการขนส่งได้ เช่น รถบรรทุกสาธารณะ รถบัส, รถบรรทุก 6-10 ล้อ (ป้ายทะเบียนพื้นสีเหลือง)

    ต้องรู้เรื่องการจำกัดเวลา และพื้นที่วิ่งของรถบรรทุก

    อย่างที่เรารู้กันดีว่า สภาพการจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯนั้น ติดขัดหลายพื้นที่ ทำให้จำเป็นต้องมีกฎหมายออกมากำหนด ห้ามรถบรรทุกวิ่งพื้นที่ชั้นใน ดังนี้

    วิ่งบนทางราบ

    • ห้ามรถบรรทุกก๊าซ วัตถุไวไฟ ตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป และรถพ่วง เดินรถในเขตกรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น. ทุกวัน เว้นวันอาทิตย์
    • รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในเวลา 06.00 – 09.00 น. และ เวลา 16.00-20.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
    • รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งในเวลา 06.00 – 10.00 น. และ เวลา 15.00-21.00 น. ยกเว้นวันหยุดราชการ
    • ห้ามรถบรรทุกอื่น เช่น บรรทุกซุง เสาเข็ม เดินรถ เวลา 06.00-21.00 น.

    วิ่งบนทางด่วน

      • รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งเวลา 06.00-09.00 น. และ 16.00-20.00 น.
      • รถบรรทุก 10ล้อขึ้นไป ห้ามวิ่งเวลา 06.00-09.00 น. และ 15.00-21.00 น.
      • รถบรรทุกสารเคมี ห้ามวิ่งเวลา 06.00-10.00 น. และ 15.00-22.00 น.

    ต้องรู้เรื่องน้ำหนักบรรทุก หรือพิกัดน้ำหนักตามกฎหมายกำหนด

    เรื่องพิกัดน้ำหนักบรรทุก เป็นสิ่งที่สำคัญที่ควรรู้อย่างมาก เพราะหากฝ่าฝืน มีน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากผิดกฎหมายแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น ทำให้พิ้นผิวถนนพัง ทรุดโทรม เสียหาย เป็นหลุมบ่อ

    ตามประกาศกำหนดพิกัดน้ำหนักรถบรรทุก ได้กำหนดน้ำหนักของรถบรรทุกรวมน้ำหนักรถ เอาไว้ดังนี้

    • รถบรรทุกขนาด 4 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกินกว่า 9.5 ตัน
    • รถบรรทุกขนาด 6 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 15 ตัน
    • รถบรรทุกขนาด 10 ล้อ ต้องบรรทุกไม่เกิน 25 ตัน
    • รถพ่วง 6 เพลา 22 ล้อ ต้องบรรทุกหนักไม่เกิน 50.5 ตัน

    ต้องมีผ้าคลุมแน่นหนา และมีอุปกรณ์ล็อคเพื่อความปลอดภัย

    การคลุมผ้าใบ จะต้องใช้ผ้าใบสีทึบ และยึดติดกับตัวรถให้มีความแข็งแรงพอที่ไม่ให้สิ่งของรั่วไหล ตกหล่น จนทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นรถบรรทุก หรือรถกระบะก็ตาม หากฝ่าฝืน จะมีโทษปรับตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก โดยมีโทษปรับสูงสุด 50,000 บาท และนายทะเบียนอาจพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาต ส่วนคนขับมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท และหากเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ผู้ประกอบการจะต้องชดใช้ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อีกด้วย

    ต้องติดตั้งแผ่นสะท้อนแสง

    แผ่นสะท้อนแสง จะทำหน้าที่สะท้อนแสง กับไฟหน้าของรถคันอื่นๆ เพื่อช่วยในการมองเห็น ขณะขับรถบรรทุกในตอนกลางคืน เพิ่มความปลอดภัย โดยรถบรรทุกทุกคัน จะต้องติดตั้งแผ่นสะท้อนแสงให้ถูกตำแหน่ง โดยมีการประกาศนี้บังคับใช้กับรถบรรทุกที่มีจำนวนเพลา ล้อและยาง ตั้งแต่ 2 เพลา 4 ล้อ ยาง 6 เส้น ขึ้นไป (รถสิบล้อขึ้นไป) ยกเว้นรถลากจูง หากฝ่าฝืนจะผิด พรบ.ขนส่งทางบก โดยมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5 หมื่นบาท

    รถบรรทุกต้องติดตั้ง และเปิด GPS ตลอดเวลา

    เป็นการบังคับใช้จากกรมการขนส่งทางบกโดยมีการกำหนดให้ รถเมล์หรือรถทัวร์ (รถโดยสารสาธารณะ), รถลากจูง, รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ทุกคันจะต้องติดตั้งระบบ GPS เพื่อเชื่อมโยงข้อมูล กับศูนย์บริหารจัดการเดินรถของภาครัฐ ทำให้สามารถติดตามพฤติกรรมการขับขี่  เช่น การใช้ความเร็วในการขับขี่, เวลาในการเดินรถ รวมถึงพิกัดของตัวรถ หากไม่ติดตั้ง หรือไม่ดูแลรักษาสภาพเครื่องให้ส่งสัญญาณ GPS ได้ตามปกติ ถือว่ามีโทษ ปรับตั้งแต่ 1,000 – 5,000 บาท และจะไม่สามารถต่อทะเบียนรถคันดังกล่าวได้

  • บทความ,  บทความเรื่องรถเฮี๊ยบ

    รู้เรื่องรถเฮี๊ยบ

    รู้เรื่องรถเฮี๊ยบ

    ย้อนกลับไปเมื่อปี 1944 มีชาวสวีเดนคนหนึ่งชื่อนาย Eric sundin เป็นนักประดิษฐ์สกีจากประเทศสวีเดนได้มีความคิดริเริ่มการสร้างรถเครนตากการเล็งเห็นศักยภาพของระบบไฮดรอลิกส์อีกทั้งยังค้นพบวิธีใช้งานรถบรรทุกร่วมกับรถเครนยกกำลังเพราะต้องการนำมาเคลื่อนย้ายสกีของเขา ต่อมาได้มีการก่อตั้ง Hydraliska Industri AB จึงเป็นที่มาของคำว่า HIAB นั้นเอง รถเฮี๊ยบ แท้จริงแล้วมีชื่อว่ารถบรรทุกติดเครน หรือ Boom Truck พอนำเข้ามาในประเทศไทยก็มีการเรียกรถบรรทุกว่ารถเฮี๊ยบ ก็เลยกลายเป็นที่ติดหูมาจนถึงทุกวันนี้ เหมือนกับที่เราเรียกผงซักฟอกว่าแฟ้บนั้นเอง ในปัจจุบันได้มีการพัฒนารถเฮี๊ยบให้มีความหลากหลายรูปแบบต่อการทำงานสามารถทำงานได้หลายด้าน ขึ้นอยู่กับการใช้งานต่างกันไป วันนี้เราขอพูดถึงความสามารถ”รถเฮี๊ยบ”หรือรถบรรทุกติดเครนที่เป็นที่นิยมใช้ขนส่งสินค้าภายในประเทศมากที่สุด รถเฮี๊ยบเป็นรถบรรทุกขนาดเล็กที่มีเครนติดอยู่ข้างหลังรถเพื่อทำการขนย้ายของที่มีน้ำหนักปานกลางไปจนถึงน้ำหนักมากเช่น เครื่องจักร โครงเหล็ก หรือสินค้าที่มีน้ำหนักมากและต้องแพคใส่หีบห่อไว้อย่างดี สามารถเคลื่อนที่และยกของขึ้น-ลงเองได้โดยไม่ต้องใช้รถเทรลเลอร์บรรทุกมาอีกทีเหมือนรถเครน ความสามารถในการเข้าถึงช่วยให้การส่งของหนักเป็นไปได้อย่างราบรื่นและปลอดภัย ช่วยเพิ่มระยะการทำงาน ลดความเสียหายต่อสินค้าอันมีค่าของอุปกรณ์ และลดความเสี่ยง สามารถเข้าถึงและผลิตและแหล่งบริโภคได้โดยตรง เนื่องจากมีโครงข่ายถนนที่มีการเชื่อมต่อทั่วกันทั่ววประเทศ
  • บทความ,  บทความเรื่องรถเฮี๊ยบ

    ใช้งานรถเฮี๊ยบอย่างไรให้ปลอดภัย

    การยกของโดยรถเฮี๊ยบให้ปลอดภัย

    ภาพบรรยากาศการทำงานของรถเฮี๊ยบ

     ถ้าพูดถึงตัวช่วยในงานขนส่งก็คงจะต้องยกให้รถเฮี๊ยบเป็นพระเอกแล้วล่ะ เพราะสามารถยกได้ทั้งของหนัก เบา แถมยังไปได้ทุกที่ไม่ว่าจะเป็นที่กว้างหรือที่แคบ ดังนั้นถ้าคุณไม่รู้วิธีการใช้งานอย่างแท้จริงอาจทำให้คุณมีอันตรายได้เช่นกัน และเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุให้น้อยที่สุด ขณะกำลังใช้งานรถเฮี๊ยบ ต้องยึดมั่นตามกฎการใช้เครนตลอดเวลา

    – อ่านคู่มือการใช้งานและการบำรุงรักษาอย่างรอบคอบและทำความเข้าใจขั้นตอนในการทำงาน และควรมีคู่มือติดไว้กับตัวรถตลอดเวลา

    – ตรวจสอบให้แน่ใจว่าของที่จะทำการยก รวมถึงอุปกรณ์การช่วยยก ต้องน้ำหนักไม่เกินตัวรถเฮี๊ยบและพิกัดรอก(ดังรูปภาพด้านบน)

    ลักษณะของตะขอเครน

    – ใช้หูยกดังรูปภาพ(ด้านบน) ใช้ยกของเสมอ

    – ตรวจสอบอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ตะขอยก โซ่ สลิง เป็นต้น ให้แน่ใจว่าไม่หย่อนหรือหลวม

    – ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ทั้งหมดพร้อมใช้งานอย่างปลอดภัย

    5 ตำแหน่งชุดยกหรือของที่จะยกต้องอยู่ในแนวดิ่งเท่านั้น

    6 ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสลิงหรือ อุปกรณ์อื่น ๆ ใส่ในตะขอยกที่มีที่กันสลิงตก (Safety Latch)

    7 ตรวจสอบให้แน่ใจว่าของที่จะยกมั่นคงดีแล้ว

    8 ห้ามยกของในขณะที่มีบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องอยู่ในบริเวณที่ทำงาน

    9 ลงของอย่างระมัดระวัง ภายใต้การควบคุมที่แน่ใจว่าปลอดภัย

    10 ไม่ควรคุมเครื่องจักรอย่างรุนแรง

  • บทความ,  บทความเรื่องรถเฮี๊ยบ

    การขนส่งทางบก

    การขนส่งสินค้าทางถนน

    การขนส่งสินค้าทางถนนเป็นรูปแบบการขนส่งที่ได้รับความนิยมใช้ขนส่งสินค้าภายในประเทศมากที่สุด โดยข้อมูล ปี พ.ศ. 2547 ของกระทรวงคมนาคม พบว่า ปริมาณการขนส่งสินค้าที่ใช้การขนส่งทางถนนมีประมาณ 435 ล้านตันหรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 88 ของการขนส่งสินค้าในประเทศทั้งหมด และเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 2.26 ต่อปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ทั้งนี้สาเหตุที่การขนส่งสินค้าทางถนนได้รับความนิยมมากเนื่องจากมีข้อได้เปรียบ เมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งรูปแบบอื่น ๆ คือ ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งผลิตและแหล่งบริโภคได้โดยตรง (door-to-door)เนื่องจากมีโครงข่ายถนน ที่เชื่อมต่อภูมิภาคต่าง ๆ ครอบคลุมทั่วประเทศ มีหน่วยบรรทุก (unit load)ขนาดเล็ก และสามารถจัดหาพาหนะ ได้สะดวก ทำให้สามารถขนส่งสินค้าไปที่จุดหมายปลายทางที่แตกต่างกันได้สะดวก ประกอบกับการขนส่งรูปแบบอื่น ๆ มีข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่สามารถรองรับความต้องการขนส่งสินค้าได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพและไม่สามารถให้บริการขนส่งจากแหล่งผลิตถึงแหล่งบริโภคได้โดยตรงและจำเป็นต้องใช้การขนส่งทางถนนเป็นFeederดังนั้นโดยรวมแล้วการขนส่งสินค้าทางถนนจึงได้เปรียบการขนส่งรูปแอื่นๆ ในแง่ของการเป็นการขนส่งรูปแบบเดี่ยว (Single Mode)ที่สามารถเข้าถึงแหล่งผลิตและแหล่งบริโภคได้โดยตรง ทำให้สามารถให้บริการรวบรวมและกระจายสินค้าได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งรูปแบบอื่น ๆ

    โครงข่ายถนนโครงข่ายถนนในปัจจุบัน

    โครงข่ายทางหลวงของประเทศไทยตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 สามารถแบ่งทางหลวงในประเทศได้ 6 ประเภท ซึ่งในปี พ.ศ. 2548 กรมทางหลวงมีความยาวทางหลวงที่อยู่ในความรับผิดชอบประมาณ 51,777 กิโลเมตรและมีลักษณะโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ โครงข่ายทางหลวง สำหรับโครงข่ายถนนในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบทมีความยาวประมาณ 44,000 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีโครงข่ายทางด่วนคลอบคลุมพื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีความยาวประมาณ 207.4 กิโลเมตร ดังแสดงในรูปที่ 2 (แสดงด้วยเส้นสีเขียว)รูปที่ 2: โครงข่ายระบบทางด่วนที่มา : รายงานฉบับสมบูรณ์ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งเละจราจรพาหนะที่ใช้ขนส่งสินค้าทางถนน ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสินค้าทางถนนส่วนใหญ่นิยมใช้รถบรรทุกขนาดตั้งแต่ 6 ล้อ 10 ล้อ และมากกว่า 10 ล้อขึ้นไป เนื่องจากสามารถบรรทุกสินค้าได้จำนวนมากพอที่จะทำการรวบรวมและกระจายสินค้า นอกจากนี้ยังสามารถเข้าถึงพื้นที่ต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ โดยไม่ต้องคำนึงถึงสภาพภูมิอากาศมากนัก ใช้บุคลากรในการดำเนินงานจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับการขนส่งรูปแบบอื่น สามารถปรับเปลี่ยนภาชนะที่ใช้บรรทุกได้ตามลักษณะของสินค้าได้หลากหลายซึ่งประเภทของรถบรรทุกตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522  

    ประเภทของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์และสิ่งของ (รถบรรทุก)

    ประเภทของรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์และสิ่งของ (รถบรรทุก) หมายเหตุ: * รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะ 5 ลักษณะ 6 ลักษณะ 7 และลักษณะ 8 ซึ่งเป็นรถบรรทุกเฉพาะกิจ จะมีความกว้าง ความสูง ความยาว
    ส่วนยื่นหน้าและส่วนยื่นท้ายเกินกว่าที่กำหนดไว้ก็ได้ หากมีความจำเป็นตามลักษณะของการใช้งานเฉพาะกิจ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก ในปี พ.ศ. 2547 สถิติจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก
    มีจำนวนรถบรรทุกประเภทต่าง ๆ รวมทั้งสิ้นประมาณ 675,000 คัน โดยในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2542 ถึง 2547 จำนวนรถบรรทุกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี แต่หากพิจารณาเฉพาะตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา พบว่า
    จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนมีแนวโน้มลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 1 ต่อปี ในเรื่องน้ำหนักบรรทุกอนุญาตได้มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับวิวัฒนาการขนส่ง และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในอดีตกฎหมายกำหนดพิกัดน้ำหนักบรรทุกไว้ที่ 16 ตัน
    แล้วจึงเพิ่มเป็น 18 ตัน และในปี พ.ศ. 2518 จึงเพิ่มเป็น 21 ตัน ต่อจากนั้นปัจจุบันรัฐบาลได้ออกบทเฉพาะกาลผ่อนผันให้รถบรรทุก 10 ล้อ สามารถบรรทุกสินค้าได้เพิ่มขึ้นเป็นน้ำหนักรวมรถ 26 ตัน จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2548 โดยล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2549
    ได้ประกาศน้ำหนักรถบรรทุกใหม่ รายละเอียดดังแสดงในรูปที่ 1ในปี พ.ศ. 2547 สถิติจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกมีจำนวนรถบรรทุกประเภทต่าง ๆ รวมทั้งสิ้นประมาณ 675,000 คัน โดยในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2542 ถึง 2547
    จำนวนรถบรรทุกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี แต่หากพิจารณาเฉพาะตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา พบว่าจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนมีแนวโน้มลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 1 ต่อปี ในเรื่องน้ำหนักบรรทุกอนุญาตได้มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับวิวัฒนาการขนส่ง และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในอดีตกฎหมายกำหนดพิกัดน้ำหนักบรรทุกไว้ที่ 16 ตัน แล้วจึงเพิ่มเป็น 18 ตัน และในปี พ.ศ. 2518 จึงเพิ่มเป็น 21 ตัน ต่อจากนั้นปัจจุบันรัฐบาลได้ออกบทเฉพาะกาลผ่อนผันให้รถบรรทุก 10 ล้อ
    สามารถบรรทุกสินค้าได้เพิ่มขึ้นเป็นน้ำหนักรวมรถ 26 ตัน จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2548 โดยล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2549 ได้ประกาศน้ำหนักรถบรรทุกใหม น้ำหนักบรรทุกใหม่ นอกจากในเรื่องของน้ำหนักบรรทุกแล้วการขนส่งทางถนนยังมีการบังคับใช้มาตรการห้ามเดินรถบรรทุก เพื่อเป็นการลดปัญหาการจราจรติดขัดในเขตกรุงเทพฯ ที่เป็นศูนย์กลางด้านธุรกิจและพาณิชยกรรม ซึ่งเป็นทั้งแหล่งผลิตและแหล่งบริโภคที่สำคัญของประเทศ การใช้มาตรการจำกัดเวลาเดินรถบรรทุกทำให้เกิดการจราจรของรถบรรทุกหนาแน่นบนเส้นทางในช่วงเวลาที่อนุญาตให้วิ่ง นอกจากนี้ ยังเกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากประชาชนที่อาศัยบนถนนในเส้นทางที่รถบรรทุกขนาดใหญ่เปลี่ยนมาใช้เส้นทาง และส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการขนส่งสินค้าโดยตรงทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานขนส่งสินค้าสูงขึ้นเนื่องจากต้องเพิ่มจำนวนเที่ยวในการขนส่งสินค้า และเสียค่าจ้างแรงงานล่วงเวลา คนขับเกิดความเหนื่อยล้าเกิดความเจ็บป่วย ลดความแน่นอนของการให้บริการและความปลอดภัยและเพื่อเป็นการเพื่อลดต้นทุนการขนส่งจึงมีการเพิ่มน้ำหนักบรรทุกในแต่ละเที่ยวเกินกว่ากฎหมายกำหนด ทำให้สภาพของทางหลวงแผ่นดินเกิดความชำรุดอย่างหนักก่อนถึงเวลาอันควร ก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านการจราจรและอุบัติเหตุกรมทางหลวงในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมบำรุงทางหลวงจำนวนมากเพื่อเป็นการควบคุมมาตรฐานน้ำหนักรถบรรทุกให้เกิดประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงผิวทาง กรมทางหลวงจึงได้จัดให้มีด่านชั่งน้ำหนักเพื่อควบคุมรถบรรทุกตามทางหลวงหลักของประเทศ ประกอบด้วย ด่านชั่งน้ำหนักถาวร และด่านชั่งน้ำหนักขณะรถวิ่ง (Weight in motion; WIM) มีรายละเอียดดังนี้ 1. ด่านชั่งน้ำหนักถาวร หมายถึง ด่านที่ตั้งประจำบนทางหลวงโดยจะติดตั้งเครื่องชั่งน้ำหนักแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งสามารถชั่งรถบรรทุกได้ทั้งคัน โดยจะติดตั้งในทางสายหลักและในเส้นทางที่มีปริมาณการจราจรสูงโดยรอบกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 14 แห่ง และมีแผนการติดตั้งเพิ่มอีก 81 แห่งภายใน 3 ปีที่มา ด่านชั่งน้ำหนักถาวร 14 ด่าน 2. ด่านชั่งน้ำหนักขณะรถวิ่ง (Weight in motion; WIM) หมายถึง ด่านชั่งน้ำหนักที่ติดตั้งอุปกรณ์ชั่งน้ำหนักไว้บนพื้นถนนแบบ High Speed WIM

    ที่สามารถชั่งน้ำหนักขณะที่รถเคลื่อนที่ได้ (เมื่อวิ่งด้วยความเร็ว 16-36 กม./ชม.) ซึ่งด่านชั่งน้ำหนักนี้จะติดตั้งก่อนถึงด่านชั่งน้ำหนักถาวรประมาณ 1 กิโลเมตร สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อใช้ในการออกแบบปรับปรุงทาง และเพื่อใช้คัดแยก
    รถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกินเข้าด่านชั่งน้ำหนักถาวร (Pre-screening) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 จะทำการก่อสร้างจำนวน 10 แห่ง 

    ที่มา https://prozkang10.wixsite.com/chanon/about